จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 1 ความเป็นพลเมืองโลก
แนวคิดหลักการและสถาบัน การมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกของสังคม
ผลการเรียนรู้
1.       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธุ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
                ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และสถาบัน การมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระดับโลก
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับสังคม
ความเป็นพลเมืองโลก คือ การเป็นพลเมืองของประเทศต่างๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปต่างๆ ในโลก ทุกคนเป็นหนึ่งในจำนวนพลเมืองโลกนับพันล้านคน ในขณะที่ทุกคนเป็นพลเมืองของประเทศด้วย และทุกคนต่างมีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในโลกที่เหมือนกัน
2.       หลักการทฤษฎี ทางสังคม
จอห์น   แมคโดนัลด์  ผู้อำนวยการองค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์
-          หลักสูตรจะต้องสร้างให้เด็กรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการสื่อสารระดับสากลโดยมีภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางพร้อมที่จะเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับในศาสนา วัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่าง มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นพัฒนาสังคมส่วนรวมในวงกว้างระดับนานาชาติโดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ของตน แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของประเทศและของตนไว้ 
-          หลักสูตรจะต้องช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีหาความรู้   มีความรู้ทั้งวิชาการ วิชาชีพและทักษะชีวิต   รู้จักตนเองและให้เกียรติผู้อื่น  เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  ทำงานเป็นทีมและมีคุณธรรม     
3.       สถาบันทางสังคม
สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา 
4.       บทบาทสมาชิกในสังคม
สร้างความคิดรวบยอด (Concept) เรื่องพลเมืองโลก ผ่านหลักสูตรสถานศึกษาโดย  บูรณาการกับวัตถุประสงค์ และกิจกรรม CCAD  ดังนี้
-          พลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา
ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่
-          สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น
การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติ อื่นๆ
-          พลโลกจะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกัน
-          โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก
5.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
การที่ประเทศต่างๆ จะเข้าสู่สมาคมอาเซี่ยนเราก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมโลกปัจจุบันที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงสำหรับบางประเทศที่อาจไม่พร้อมรับมือกับอาเซี่ยน เช่นประเทศไทยเราที่มีการสำรวจเกี่ยวกับภาษาในเด็กไทย 10 คนกังวลเรื่องภาษา 8 คน เราควรตระหนักได้แล้วว่าไทยอาจตกงานในอนาคตข้างหน้า เพราะจากการสำรวจในประเทศอื่นเขาไม่กังวลที่จะเข้ามาศึกษาในประเทศไทย ดังนั้นคนไทยก็ควรจะตื่นตัวกับอาเซี่ยนให้มากกว่านี้ถ้าไม่อยากตกงาน
6.       ประเด็นที่เชื่อมโยงเรื่องราว และมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก
สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติอื่นๆ เช่น  CCADพลโลก จะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกันพลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา  ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 2 การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม
การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษย์ชนและอุดมการณ์ประชาธิปไตย
ผลการเรียนรู้
1.       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธุ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับพลเมืองดี
การที่เราจะเป็นบุคคลในสังคมประชาธิปไตยยังต้องรู้หลักการเป็นพลเมืองที่ดี ในสังคมประชาธิปไตย การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนจะต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนทั้งต่อตนเอง ต่อครอบครัวชุมชน สังคมและประเทศชาติ รู้จัก  การทำงานร่วมกันมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในกิจกรรมทางสังคม ดูแลรักษาสาธารณประโยชน์ สิ่งแวดล้อมของชุมชนและประเทศชาติ นำหลักคุณธรรมมาใช้  ในกระบวนการทางประชาธิปไตย  ซึ่งถ้าทุกคนตระหนักถึงความสำคัญและปฏิบัติตน เป็นพลเมืองที่ดีทั้งต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติแล้ว ย่อมเป็นสิ่งจรรโลงให้การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีความมั่นคงยืนนานตลอดไปและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่าง  มีความสงบสุข 
2.       หลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชน
2.1สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิเฉพะของมนุษย์แต่ละคนที่ไม่สามารถโอนให้กันและกันได้
2.2 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ และต้องพึ่งพิงกันและกัน2.3 สิทธิมนุษยชน เป็นวิถีทางที่นำไปสู่สันติภาพและพัฒนาที่ยั่งยืน2.4 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่บุคคลพึงมีในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์2.5 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีความเท่าเทียมกันอย่างเป็นสากลและตลอดไป
3.       การปกครองระบอบประชาธิปไตย
   ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองและวิธีการดำเนินชีวิต ซึ่งยึดหลักของความเสมอภาค เสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน และอำนาจอธิปไตยต้องมาจากปวงชน
                คำว่า ประชาธิปไตย เป็นศัพท์ที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากในโลกปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศต่างๆ แม้จะมีรูปแบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็อ้างว่าประเทศของตนเป็นประชาธิปไตยกันทั้งสิ้น   ในประเทศสังคมนิยมหลายประเทศ เช่น อดีตสหภาพโซเวียต และจีน ต่างก็อ้างว่าประเทศของตน  ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยในอีกแง่หนึ่งที่เรียกว่า ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ กล่าวคือ ยินยอมให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด ส่วนการดำเนินการทางการเมือง ยังคงตกอยู่ในมือของผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่คนเท่านั้น นอกจากนี้ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย หลังจากได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ในสมัยของประธานาธิบดีซูการ์โน ได้ประกาศใช้ระบอบประชาธิปไตยนำวิถี   จากความหลากหลายของการให้ความหมายนี้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ในที่นี้จะขออธิบายประชาธิปไตยในความหมายของเสรีประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยแบบตะวันตกเท่านั้น
4.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
 เมื่อไม่นานมานี้ฉันได้อ่านบทความหนึ่งชื่อว่าบทเรียนกรณี 'อากง' กับปัญหาสิทธิมนุษยชนไทยเป็นการบอกเล่าข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ อากงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งบทความดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรมของไทยและที่สำคัญคือประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย
          ปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในแง่มุมทาง กฎหมายและ การเมืองอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกลุ่ม ‘นิติราษฎร์’ ซึ่งนำโดย อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะรวม 7 คน ออกมาประกาศเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 ในเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งต่อมาไม่นานก็เป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางทั้งผู้สนับสนุนและต่อต้าน

          ต่อมาในปลายปีเดียวกันนั้นเอง นิติราษฎร์ก็ได้จัดงานครบรอบ ‘5 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย.49’ พร้อมทั้งได้ประกาศข้อเสนอ 4 ประการเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม ได้แก่


ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
กระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายหลังรัฐประหาร
ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

          จะเห็นได้ว่า มาตรา 112’ ก็เป็นปัญหาสำคัญที่นิติราษฎร์เห็นว่าควร แก้ไขไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการต่อต้านรัฐประหารการต่อต้าน รัฐธรรมนูญเผด็จการและการเยียวยา ผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้นิติราษฎร์ได้รับทั้ง ดอกไม้และ ก้อนหินในเวลาเดียวกัน จนท้ายที่สุดต้องส่งไม้ต่อให้คณะรณรงค์แก้ไข ม.112 หรือ ครก.112’ ในเวลาต่อมา

          ตัวกฎหมาย มาตรา 112’ นี้ผมจะไม่กล่าวถึงมากนัก เพราะได้อธิบายไปพอสมควรแล้วในบทความที่ผ่านมา[1] แต่จะขอเสนอความเห็นของทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและ ไม่เห็นด้วยในการแก้ไขมาตรา 112 รวมถึงท่าทีของนานาชาติต่อกรณีดังกล่าว เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้พินิจพิจารณาว่าเหตุใดเราจึง ควรแก้หรือ ไม่ควรแก้กฎหมายมาตรานี้
5.       ประเด็นที่เชื่อมโยงเรื่องราว และมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างในระดับท้องถิ่นกับระดับโลก ในภาพกว้าง
“  มีเสียงพูดกันถี่ขึ้นถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือที่เรียกกันติด ปากว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"บางคนก็บอกว่าต้องยกเลิกเพราะไม่เป็นประชาธิปไตยบ้าง ขัดต่อรัฐธรรมนูญบ้าง เป็นการขัดขวางต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นบ้าง บ้างก็ว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมเสียใหม่ เพราะโทษที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินไป น่าจะไม่ชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ความคิดเห็นที่แตกต่างหรือการคิดปรับปรุงกฎหมายทั้งหลายทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นสิทธิอันชอบธรรมของแต่ละบุคคลที่จะคิดได้ ถกเถียงกันได้ ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าใครผิดหรือใครถูกทำให้มีคนบริสุทธิ์ถูกกล่าวหาความยุติธรรมก็จะไม่มีในสังคมโลก ถ้าเกิดมีคนมากล่าวหาว่าคนที่ไม่รู้อะไรเลยเราก็ต้องติดคุกโดยไม่อาศัยหลักฐานใดๆประเทศคงมีแต่คนชั่วเต็มบ้านเมือง อย่างไรก็ตามมนุษย์ทุกคนต้องการความยุติธรรมไม่ใช่จะมาใส่ร้ายกันแล้วโดนคดีจนติดคุกจนเสียชีวิตในคุกมันก็ไม่ถูก

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 3 ความยุติธรรมในสังคม
ความสำคัญของความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม
ผลการเรียนรู้
1.       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความสำนึกตระหนักในความสำคัญของความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาค
ในยุคปัจจุบันที่สังคมโลกต่างให้ความสำคัญกับกระแสสิทธิมนุษยชนและกระแสประชาธิปไตย คนทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในสิทธิที่ตนเองควรจะได้รับ ตั้งแต่แรกเกิดคือสิทธิที่จะต้องอยู่รอด สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสิทธิที่จะได้รับการศึกษาและฝึกอบรมที่สอดคล้องกับสภาพวิวัฒนาการของสังคมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
ที่ความรู้คืออำนาจ การเรียนรู้จึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อคนทุกคนอย่างทวีคูณ ผู้ที่เข้าถึงความรู้ได้มากกว่าจึงได้เปรียบคนที่เข้าถึงความรู้ได้น้อยกว่า ผู้คนทั่วโลกมีความต้องการการศึกษามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการประชุมการศึกษาโลกที่เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยมีการเสนอจุดหมายหรือหลักชัย (Goals) 6 ข้อ ซึ่งจุดหมายทั้งสามข้อใน
6 ข้อนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่าประเด็นในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากก่อนที่เราจะทำให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการเสมอภาคทางการศึกษานั้น การมีความเข้าใจแนวคิดเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่ตรงกันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ในบทความนี้ผมขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นฐานในการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการศึกษาทั้งในภาพรวมระดับประเทศ และระดับสถานศึกษา
2.       หลักการเกี่ยวกับความยุติธรรม
คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2549 โดยเป็นเครือข่ายนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพเพื่อส่งเสริมการไม่ใช้ความรุนแรงและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและยุติการลอยนวลพ้นผิด คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมกับส่งเสริมนักกิจกรรมระดับรากหญ้าและให้ความสนับสนุนผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการต่อสู้เพื่อให้ได้รับความยุติธรรม ในเดือนธันวาคม 2552 คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิกับสำนักงานเขตที่กรุงเทพมหานคร และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพเชื่อว่าการเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมเป็นเงื่อนไขจำเป็น เพื่อลดความขัดแย้งที่รุนแรงและสถาปนาสันติภาพในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพเชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคือตัวชุมชนเอง จึงให้ความสำคัญและทุ่มเททรัพยากรเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะเกี่ยวกับประเด็นความยุติธรรมและหลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชนและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ส่งเสริมศักยภาพของผู้เสียหายและสมาชิกในครอบครัวที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และช่วยให้ชุมชนปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยใช้สันติวิธี และการรณรงค์ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อให้รัฐบาลไทยแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการละเลยต่อหลักนิติธรรม เพื่อยุติการละเว้นโทษและให้การเยียวยากับผู้เสียหายและครอบครัวมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพมีเป้าหมายส่งเสริมให้ภาครัฐมีเจตจำนงทางการเมืองที่หนักแน่นขึ้นในการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม โดยกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมสร้างแรงกดดัน และให้มีการคุ้มครองต่อผู้แสวงหาความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพมุ่งทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้โดยผ่านเครือข่ายนักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนและการไม่ใช้ความรุนแรง การสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตร และการจัดตั้งชุมชนตามบรรทัดฐานของสิทธิมนุษยชน
3.    วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
ความขัดแย้งแบ่งสีในสังคมไทยปะทุขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 บานปลายสืบเนื่องนานหลายปีโดยยังไม่มีวี่แววว่าจะสร่างซา ประเทศไทยเดินดุจเรือไร้หางเสือผ่านรัฐประหาร รัฐบาลนอมินี รัฐบาลอำมาตย์ พลิกกลับมาเป็นรัฐบาลโคลนนิ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2554 ความยุติธรรมในสังคมยังดูเป็นอุดมคติอันไกลโพ้น ขณะที่ความอยุติธรรมชัดแจ้ง ฝากรอยแผลทางกายและในใจคนอย่างท่วมท้นขึ้นเรื่อยๆ จนคำกล่าวที่ว่าคุกไทยมีไว้ขังคนจนดูจะเป็นสัจธรรมอันยากสั่นคลอน
อย่างไรก็ดี คุณูปการประการหนึ่งของความอึมครึมและแตกแยกในสังคม คือ คำว่า ความยุติธรรมถูกพูดถึงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในแทบทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้นำประเทศจนถึงคนเดินดิน แม่ค้าถกเรื่อง ตุลาการภิวัตน์กับลูกค้าระหว่างตักข้าวแกงใส่จาน คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ใส่เสื้อสีที่ตื่นตัวทางการเมืองอย่างฉับพลันตามวาทะของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ถกเถียงเรื่องความยุติธรรมทางสังคมอย่างหน้าดำครํ่าเครียด และบางทีก็ถึงขั้นลงไม้ลงมือ
แต่ไม่ว่าเราจะถกเรื่องความยุติธรรมกันมากเพียงใด สิ่งที่ยังพบเห็นน้อยมากในทัศนะของผู้แปลคือ การถกเถียงอย่างรอบด้าน เคารพซึ่งกันและกัน และพยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อันล้วนเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการเดินสู่ ความยุติธรรมที่แท้จริง
4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
การถกเถียงเรื่องความยุติธรรม ตั้งแต่เรื่องระดับชาติจนถึงเรื่องในครอบครัว ยังดูจะมุ่งไปที่การชักโวหารเหตุผลจากแม่นํ้าทั้งห้ามาสาธยายว่าทำไม ฉันถูก แกผิดและ ความยุติธรรมก็มักถูกใช้ในความหมายว่า อะไรก็ตามที่ทำให้ฉันหรือพวกของฉันได้ประโยชน์ โดยไม่สนใจว่าคนอื่นได้รับผลกระทบอย่างไร กระทั่งไม่อยากฟังเพราะปักใจเชื่อไปแล้วว่าคนอื่นไม่ควรค่าแก่การรับฟัง เพราะเป็นสลิ่ม / เป็นควายที่ถูกซื้อ / เป็นชนชั้นกลางดัดจริต / เป็นพวกล้มเจ้า ฯลฯการเที่ยวแขวน ป้ายง่ายๆ เหล่านี้ให้กับผู้คิดต่าง ทำให้คนจำนวนมากไม่ถกกันอย่างเปิดใจและตรงไปตรงมา หมกมุ่นกับการใช้วาทศิลป์สร้างวาทกรรมด้านเดียวมาสนับสนุนการต่อสู้ทางการเมือง อาทิ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ประชานิยม ทุนโลกาภิวัตน์ ฯลฯ ทั้งที่ในโลกแห่งความจริง สิ่งที่คำเหล่านี้อธิบาย ไม่ได้มีแต่ด้านบวกหรือด้านลบเพียงด้านเดียว และคำหลายคำที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นอาวุธทางความคิดนั้น แท้จริงสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไม่เคอะเขินเพื่ออธิบายความจริง เช่น กลุ่มการเงินชุมชนหลายกลุ่มใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเหลือชาวบ้านที่เป็นหนี้สินล้นพ้นตัวได้สำเร็จ เสร็จแล้วก็นำเงินกู้ในนโยบาย ประชานิยมอย่างเช่นกองทุนเอสเอ็มแอล มาช่วยให้พวกเขาได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่ความยุติธรรมจะบังเกิดได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกันเราจะเข้าใจกันได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่ให้ความยุติธรรมแม้กับถ้อยคำ ล่ามโซ่ตีกรอบความหมายของมันอย่างคับแคบด้วยวาทกรรมที่ใช้ฟาดฟันทางการเมือง แบ่งโลกออกเป็นขาว ดำ ทั้งที่โลกจริงหลากหลายกว่านั้น ซับซ้อนกว่านั้น และมีความหวังมากกว่านั้นในห้วงยามที่สังคมเป็นเช่นนี้ ผู้แปลคิดว่าหนังสือความยุติธรรมมาถูกที่ถูกเวลาเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้เขียน ไมเคิล แซนเดลเป็นนักปรัชญาการเมืองร่วมสมัยที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในโลกวิชาการ ยิ่งกว่านั้นคือ อาจารย์เป็นปัญญาชนสาธารณะที่มีความสุขกับการใช้ปรัชญาทางการเมืองหลากสำนักตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นแว่นขยายส่องประเด็นสาธารณะต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน การเกณฑ์ทหาร การโก่งราคาในภาวะฉุกเฉิน โบนัสมหาศาลของผู้บริหารธนาคาร การเก็บภาษีคนรวยมาช่วยคนจน การอุ้มบุญ การุณยฆาต สิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ ฯลฯผู้แปลโชคดีที่เคยนั่งเรียนวิชาความยุติธรรมกับอาจารย์ วิชานี้เป็นวิชาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดติดต่อกันนานกว่าสองทศวรรษ มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนมากกว่าหนึ่งพันคนทุกภาคเรียน มากจนต้องไปเรียนกันในโรงละครแซนเดอร์ส ซึ่งจุคนได้มากที่สุดในมหาวิทยาลัยสิ่งที่ทำให้ผู้แปลทึ่งที่สุดไม่ใช่ความรอบรู้ของอาจารย์แซนเดล หากแต่เป็นความเอื้ออาทร อ่อนโยน และเคารพอย่างจริงใจในความคิดเห็นของนักศึกษาทุกคน กระทั่งกับคนที่ดันทุรัง ดื้อดึง ด่าทอเพื่อนร่วมห้อง หรือพูดจาถากถางอาจารย์ด้วยความเชื่อมั่นเกินขีดความสามารถของตัวเอง อาจารย์แซนเดลก็จะรับฟังอย่างตั้งใจ ใจเย็น และใจกว้าง ชี้ชวนให้ผู้คิดต่างเสนอความเห็นและถกเถียงกันในชั้นเรียน โดยสอดแทรกความคิดเห็นของตัวเองให้น้อยที่สุดอาจฟังดูเหลือเชื่อว่า ในชั้นเรียนซึ่งมีนักเรียนยัดทะนานนับพัน ล้นห้องจนบางคาบนักศึกษานับร้อยต้องนั่งพื้นตรงทางเดิน อาจารย์กลับสามารถถามคำถามและดำเนินบทสนทนาระหว่างนักเรียนได้อย่างมีชีวิตชีวาและท้าทายความคิด (“เอ้า หนุ่มน้อยเสื้อหนาวสีขาวใส่แว่น ชั้นสามจากบนสุดคิดอย่างไรครับ”)แต่อาจารย์แซนเดลทำได้ หนังสือเล่มนี้เป็นการถ่ายทอดบทสนทนาและการโต้วาทีในชั้นเรียน ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ราวกับยกวิชาในตำนวนวิชานี้ทั้งวิชามาอยู่บนหน้ากระดาษนอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความคิดและปรัชญาการเมืองในโลกตะวันตกแล้ว แซนเดลพยายามจะบอกเราว่า ความยุติธรรมนั้นถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องของการให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ และด้วยเหตุนี้ ทั้ง เหตุผลและ ศีลธรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังเนื้อความตอนหนึ่งว่าการขอให้พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยทิ้งความเชื่อทางศีลธรรมและศาสนาไว้เบื้องหลังเมื่อพวกเขาเดินเข้าสู่วงอภิปรายสาธารณะนั้น อาจดูเป็นวิธีสร้างหลักประกันว่าคนจะอดทนอดกลั้นและเคารพซึ่งกันและกัน แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นอาจตรงกันข้าม การตัดสินคำถามสำคัญๆ ใประเด็นสาธารณะขณะแสร้งทำตัวเป็นกลาง ทั้งที่เป็นกลางจริงๆ ไม่ได้นั้น คือสูตรสร้างปฏิกิริยาโต้กลับและความไม่พอใจ การเมืองกลวงเปล่าอันสิ้นไร้การโต้เถียงทางศีลธรรมอย่างหนักแน่นทำให้ชีวิตพลเมืองของเราแร้นแค้น นอกจากนี้มันยังเชื้อเชิญลัทธิคลั่งศีลธรรมอันคับแคบและไม่อดทนอดกลั้น นักรากฐานนิยมวิ่งเข้าสู่พื้นที่ซึ่งนักเสรีนิยมไม่กล้าย่างเท้าเข้าไป

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 4 การสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
บทบาทและส่วนร่วมในการสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความความเท่าเทียมกันในสังคม

 ในยุคปัจจุบันที่สังคมโลกต่างให้ความสำคัญกับกระแสสิทธิมนุษยชนและกระแสประชาธิปไตย คนทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในสิทธิที่ตนเองควรจะได้รับ ตั้งแต่แรกเกิดคือสิทธิที่จะต้องอยู่รอด สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสิทธิที่จะได้รับการศึกษาและฝึกอบรมที่สอดคล้องกับสภาพวิวัฒนาการของสังคมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ความรู้คืออำนาจ การเรียนรู้จึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อคนทุกคนอย่างทวีคูณ ผู้ที่เข้าถึงความรู้ได้มากกว่าจึงได้เปรียบคนที่เข้าถึงความรู้ได้น้อยกว่า ผู้คนทั่วโลกมีความต้องการการศึกษามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการประชุมการศึกษาโลกที่เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยมีการเสนอจุดหมายหรือหลักชัย (Goals) 6 ข้อ ซึ่งจุดหมายทั้งสามข้อใน 6 ข้อนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่าประเด็นในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
          ก่อนที่เราจะทำให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการเสมอภาคทางการศึกษานั้น การมีความเข้าใจแนวคิดเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่ตรงกันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ในบทความนี้ผมขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นฐานในการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการศึกษาทั้งในภาพรวมระดับประเทศ
และระดับสถานศึกษา 


2.       หลักการของความเป็นธรรมในสังคม

เพื่อนหลายสาขาอาชีพได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องความเป็นธรรมในสังคมการทำงาน หลากหลายความคิดเห็นเหล่านั้น ส่วนใหญ่มีความคิดสอดคล้องกัน ที่รวบรวมนำเสนอนี้เป็นเพียงบางส่วนหนึ่งเพื่อรับรู้ว่าในอีกฟากหนึ่งของสังคมเขาคิดอย่างไรกัน
"เมื่อบุคคลหลายคนในหน่วยงานใดร่วมกันกระทำบางสิ่งบางอย่างอันขัดกับมโนธรรม หรือความยุติธรรม หาประโยชน์เพื่อตนเอง หรือผู้อื่น เกื้อหนุนพวกพ้องเดียวกัน พยายามหาช่องทางให้ผู้มีอำนาจแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าจะในด้านผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับการเงิน หรือทางด้านบุคลากร โดยไม่มองถึงความเป็นธรรมหรือหลักการที่ถูกต้อง คนเหล่านี้เมื่อรวมกันเข้าจะกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่น่าสะพึงกลัว
เขาคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เขาไม่ได้เสแสร้ง แต่มันเป็นเบื้องลึกของจิตใจเขาจริง ๆ เขาเห็นว่าการสร้างช่องทางให้ผู้มีอำนาจได้ใช้ประโยชน์ส่วนตนจากกระบวนการต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ผู้ที่คิดต่างกับพวกเขาแม้จะคิดในแนวทางที่ชอบธรรม ก็จะกลายเป็นคนที่คิดผิด ทำผิด ไม่ว่าท่านจะถูกต้องเป็นธรรมเพียงใดก็ตาม เนื่องจากความเป็นธรรมของพวกเขา คือผลประโยชน์ ผลตอบแทน ตำแหน่งหน้าที่ บำเหน็จความดีความชอบ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งก็ดูจะเป็นธรรมสำหรับพวกเขา หากว่าสิ่งที่เขากระทำนั้นอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ความเสมอภาคทางสังคม ไม่ใช่ทำเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใด
การแสวงหาแนวทางที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีอำนาจ จะเป็นหลักการสำคัญของคนกลุ่มนี้ เขาไม่เคยเสียเวลาเหลียวคิดแม้เพียงน้อยนิดที่จะรับรู้ถึงหลักความเป็นธรรมของสังคม ไม่ต้องการรับรู้ว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน บุคคลในองค์กรพึงได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ผู้มีอำนาจไม่สมควรที่จะได้รับอภิสิทธิ์อันไม่ชอบธรรมเหนือผู้ใด เพราะกิจการงานขององค์กร หาใช่กิจกรรมในครอบครัว กลุ่มบุคคลเหล่านี้อาจไม่เคยเหลียวมอง ความถูกต้องที่สังคมโลกกำลังสร้างสรรจรรโลงให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาค
กติกาของสังคมที่ถูกสร้างขึ้นในทุกวันนี้ก็เพื่อป้องกันการใช้อำนาจการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบของผู้มีอำนาจ จะเห็นได้ตั้งแต่กฏบัตรสหประชาชาติ มาจนกฏหมายรัฐธรรมนูญ ของประเทศ ที่พยายามเขียนปิดช่องโหว่ไม่ให้ผู้มีอำนาจได้แสวงหาประโยชน์ส่วนตนจากช่องว่างที่อาจเปิดอยู่ แต่ดูเหมือนว่า ความจริงของสังคมหลายแห่งยังมีผู้กลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งมีความคิดสวนทางกับหลักการดังกล่าว เขาพยายามร่วมมือกันหาช่องทางให้ผู้มีอำนาจ อย่างน่าละอายและดูเหมือนว่าการกระทำเหล่านั้นเขาเห็นว่านั่นคือความรู้ความสามารถที่บุคคลอื่นไม่พึงมี ถามว่าเพื่ออะไร คำตอบคือ เขาเหล่านั้นต้องการ ผลประโยชน์ตอบแทนทางตำแหน่งหน้าที่ ความก้าวหน้า ความดีความชอบเป็นบำเหน็จรางวัล อันจะทำให้เขาใช้บำรุงบำเรอชีวิต ประหนึ่งสุนัขไล่งับเศษกระดูกที่มีผู้โยนให้แทะจนบางครั้งถึงกับต้องทะเลาะหรือแว้งใส่กันเอง  และบางทีอาจเกิดจากความกลัวว่าจะไม่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน กลัวจะไม่ได้พิจารณาความดีความชอบอันเป็นธรรม
นั่นย่อมเห็นได้ว่าเขาเกรงว่าเขาจะไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้มีอำนาจ เขาจึงโยนความไม่เป็นธรรมเหล่านั้นไปให้ผู้อื่นหรือสังคม แล้วเขาเหล่านั้นคิดว่าสิ่งที่เขาได้รับนั้นคือความเป็นธรรมนั่นเอง……….ความผูกพันธ์อันดีงามของมนุษยชาติถูกทำลายไปในที่สุด ความเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง ถูกทำลายลงทีละน้อยและหมดสิ้นไป นับวันคนเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละองค์กร เพราะความต้องการเศษเนื้อติดกระดูกที่ถูกยื่นให้ ศักดิ์ศรีความเป็นคนจึงถูกย่ำยีลง ……………………………..
อ่านจบลองเหลียวไปมองดู สังคมในองค์กรของคุณล่ะเป็นแบบไหน

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน

การขาดความเป็นธรรมเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
     2."ช่องว่าง"    ภาพมหาภาคของความไม่เป็นธรรม   ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย  หรือระหว่างคนข้างล่างกับคนข้างบน  คือ  ภาพสะท้อนมหภาคของความไม่เป็นธรรม  เราเป็นคนเหมือนกันควรจะมีศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นคนเหมือนกัน   แต่ทำไมจึงแตกต่างกันมากเหลือเกินระหว่างคนข้างล่างที่ปากกัดตีนถีบไม่พอที่จะเลี้ยงลูก  กับคนข้างบนที่อาจมีรายได้เป็นล้านๆ  บาทต่อเดือน  เรามีปัญหาความไม่เป็นธรรมทุกด้าน  ทั้งทางเศรษฐกิจ  ทางสังคม  ทางกฎหมายและการเข้าถึงทรัพยากร  เรารู้หรือไม่ว่ากฎหมายและการประยุกต์ใช้กฎหมายมีอคติต่อคนจน  ความขัดแย้งทั่วแผ่นดินเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรที่รัฐไม่อำนวยความเป็นธรรม
     3.ตัวอย่างและรายละเอียดบางประการของความไม่เป็นธรรม-ความไม่เป็นธรรมมีอยู่ในทุกเรื่อง  แต่เราอาจจะไม่เห็นเพราะความซับซ้อนของมัน  อย่างเรื่องระบบบริการสุขภาพที่เรามีโครงสร้างค่อนข้างทั่วถึง  แต่ถ้าเอาเรื่อง  "ช่องว่าง"  เข้ามาจับก็จะเห็นความไม่เป็นธรรม  เช่น  ลูกคนจนยังตายมากกว่าคนรวยถึง  3  เท่า  คนจนตายจากเรื่องที่ไม่ควรตายมากกว่าคนรวยเรียกว่าความตายที่ไม่เป็นธรรม  การค้าเสรีและนโยบาย  Medical  Hub  ที่ดึงเอาคนต่างชาติเข้ามารับบริการในเมืองไทยทำให้คนพวกหนึ่งร่ำรวยขึ้น  แต่มันได้ดึงแพทย์และพยาบาลออกมาจากการบริการคนจนในชนบท 
ภายใต้สิทธิธรรมของการค้าเสรีที่อนุญาตให้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ทุนหนาเข้าไปตั้งในชุมชนได้ทำลายอาชีพของรายเล็กรายน้อยในชุมชนนั้นไม่เป็นจำนวนมากกว่าจำนวนคนที่จ้างงานในศูนย์การค้าขนาดใหญ่  ตามชายฝั่ง  เช่น  ที่จังหวัดตรัง  จังหวัดปัตตานี  ชาวประมงที่ยากจนเคยหาเลี้ยงชีพด้วยการจับสัตว์น้ำ  แต่เมื่อนายทุนเอาเรือขนาดใหญ่พร้อมทั้งอวนลากที่ใช้เครื่องจักรมาลากกวาดเอาทุกสิ่งทุกอย่างไปสร้างความร่ำรวย  ทั้งๆ  ที่ผิดกฎหมาย  คนจนหมดอาชีพลง  ไปร้องเรียนต่อรัฐก็ไม่ได้ผล  ความไม่เป็นธรรมสะสมความแค้นไว้ในจิตใจของผู้คนจนปะทุออกมาเป็นความรุนแรงก็มี  การใช้ทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรมคือสาเหตุของความขัดแย้งใหญ่ในบ้านเมือง  รวมทั้งความขัดแย้งทางการเมือง
    

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง


    ลองจับเรื่องอะไรก็จะเห็นความไม่เป็นธรรมในเรื่องนั้นทั่วไปหมด  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตำรวจ  เรื่องการศึกษา  เรื่องการสื่อสารหรือเรื่องการพัฒนา  การพัฒนาในช่วง  50  ปีที่ผ่านมาทำให้ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยถ่างมากขึ้น  (ไปดูตัวเลขของสภาพัฒน์ได้)  เพราะการพัฒนาที่ผ่านมาโดยสรุปคือ  การไปเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ  ที่เป็นประโยชน์ต่อคนข้างล่างทั้งหมดให้มาเป็นเงินของคนส่วนน้อย  ช่องว่างที่ถ่างมากขึ้นนำไปสู่ปัญหาต่างๆ  ทั้งทางเศรษฐกิจ  จิตใจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  และการเมือง  โดยสรุป  วิกฤตการณ์เกิดจากการขาดความเป็นธรรมของการพัฒนา
     รัฐประสบความล้มเหลวในการสร้างความเป็นธรรม   หรือเป็นตัวการให้ขาดความเป็นธรรม  เพราะการขาดธรรมาภิบาลภาครัฐ  ถ้าคณะกรรมการขององค์กรขาดธรรมาภิบาลเกิดอะไรขึ้น  เราจะมองเห็นภาพไม่ยาก  ถ้าบอร์ดการบินไทยขาดธรรมาภิบาลจะเกิดอะไรขึ้น  ถ้าบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทยขาดธรรมาภิบาลจะเกิดอะไรขึ้น  ถ้าบอร์ดของรัฐวิสาหกิจอื่นๆ  ขาดธรรมาภิบาลจะเกิดอะไรขึ้น  ยิ่งกว่านั้นถ้าการเมืองการปกครองขาดธรรมาภิบาล  ประเทศมิล่มสลายหรือ

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 5 สิทธิมนุษย์ชน
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชน
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชน
2.1สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิเฉพะของมนุษย์แต่ละคนที่ไม่สามารถโอนให้กันและกันได้2.2 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ และต้องพึ่งพิงกันและกัน2.3 สิทธิมนุษยชน เป็นวิถีทางที่นำไปสู่สันติภาพและพัฒนาที่ยั่งยืน2.4 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่บุคคลพึงมีในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์2.5 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีความเท่าเทียมกันอย่างเป็นสากลและตลอดไป

2.       หลักการของสิทธิมนุษย์ชน

หลักการสำคัญของ "สิทธิมนุษยชน"
ศักดิ์ศรความเป็นมนุษย์ หมายถึง สิ่งที่ติดตัวบุคคลมาตั้งแต่เกิดที่ทุกคนต้องปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ ดังที่ปรากฎในคำปรารภของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระ เสรีภาพ และเสมอภาคกัน จึงควรปฏิบัติต่อกันฉันท์พี่น้อง หรืออีกนัยหนึ่งคือการปฏิบัติต่อกันอย่างไม่ให้เกียรติไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั่นเอง
การไม่เลือกปฏิบัติ ถึงแม้ว่าคนเราเกิดมา จะมีความแตกต่างกันในเรื่อง ฐานะ ความเป็นอยู่ การศึกษา เพศ ศาสนา หรือความบกพร่องของร่างกาย แต่ภายใต้การคุ้มครองโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เราต้องไม่อาศัยความแตกต่างเหล่านี้มาเป็นสาระสำคัญในการปฏิบัติหรือจำกัดสิทธิหรือกีดกันบุคคลบางกลุ่ม เช่น ไม่อนุญาตให้คนอ้วนเรียนพยาบาล ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการเลือกปฏิบัติ
    นอกจากนี้จากการปฏิบัติต่อบุคคลต้องคำนึงถึง ความเสมอภาค กล่าวคือ หากบุคคลอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุจากความแตกต่าง อาทิ เผ่าพันธุ์ สีผิว เพศ ภาษา สัญชาติ เชื้อชาติ ชนชั้น เป็นต้น ก็ต้องมีการปฏิบัติตอ่บุคคลให้เสมอภาคโดยเท่าเทียมกัน
แบ่งแยกไม่ได้  สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแบ่งแยกได้หรือไม่มีลำดับชั้น สิ่งใดที่บัญญัติให้เป็นสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามกฎหมาย บุคคลเข้าถึงสิทธินั้นโดยเสมอภาคกัน
ความเป็นสากล สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องสากลที่ทุกคนมีเหมือนกันหมดไม่สามารถถอนจากผู้หนึ่งแล้วถ่ายโอนหรือเพิ่มเติมให้ผู้หนึ่งเป็นการเฉพาะได้
   ดังนั้น การสร้างหลักประกันแก่ประชาชนว่าจะได้รับการปกป้องคุ้มครองตามหลัก สิทธิมนุษยชน ดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของรัฐโดยตรงในการที่จะต้องปฏิบัติรับรองสิทธิของประชาชนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายเพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม


3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน

   เมื่อไม่นานมานี้ผมได้เขียนบทความหนึ่งชื่อว่า บทเรียนกรณี 'อากง' กับปัญหาสิทธิมนุษยชนไทยเป็นการบอกเล่าข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ อากงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งบทความดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรมของไทยและที่สำคัญคือประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย

        ปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในแง่มุมทาง กฎหมายและ การเมืองอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกลุ่ม ‘นิติราษฎร์’ ซึ่งนำโดย อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะรวม 7 คน ออกมาประกาศเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 ในเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งต่อมาไม่นานก็เป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางทั้งผู้สนับสนุนและต่อต้าน

          ต่อมาในปลายปีเดียวกันนั้นเอง นิติราษฎร์ก็ได้จัดงานครบรอบ ‘5 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย.49’ พร้อมทั้งได้ประกาศข้อเสนอ 4 ประการเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม ได้แก่


ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
กระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายหลังรัฐประหาร
ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง

   จะเห็นได้ว่า มาตรา 112’ ก็เป็นปัญหาสำคัญที่นิติราษฎร์เห็นว่าควร แก้ไขไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการต่อต้านรัฐประหารการต่อต้าน รัฐธรรมนูญเผด็จการและการเยียวยา ผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้นิติราษฎร์ได้รับทั้ง ดอกไม้และ ก้อนหินในเวลาเดียวกัน จนท้ายที่สุดต้องส่งไม้ต่อให้คณะรณรงค์แก้ไข ม.112 หรือ ครก.112’ ในเวลาต่อมา

          ตัวกฎหมาย มาตรา 112’ นี้ผมจะไม่กล่าวถึงมากนัก เพราะได้อธิบายไปพอสมควรแล้วในบทความที่ผ่านมา[1] แต่จะขอเสนอความเห็นของทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและ ไม่เห็นด้วยในการแก้ไขมาตรา 112 รวมถึงท่าทีของนานาชาติต่อกรณีดังกล่าว เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้พินิจพิจารณาว่าเหตุใดเราจึง ควรแก้หรือ ไม่ควรแก้กฎหมายมาตรานี้

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 6  สิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
การเคารพและยึดมั่นในสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิของความเป็นมนุษย์

จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"
        ความดำรงอยู่ ความถูกต้อง และเนื้อหาของสิทธิมนุษยชน เป็นหัวข้อที่เป็นที่โต้เถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในทางปรัชญาและรัฐศาสตร์ ตามกฎหมายแล้ว สิทธิมนุษยชนได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ และในกฎหมายภายในของหลายรัฐ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนจำนวนมากแล้ว หลักการของสิทธิมนุษยชนนั้นกินขอบเขตเลยไปกว่ากฎหมาย และก่อร่างขึ้นเป็นหลักศีลธรรมพื้นฐานสำหรับวางระเบียบภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัย สำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว สิทธิมนุษยชนคือความเสมอภาคในอุดมคติ
2.       หลักการของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
 สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในฐานะอารยธรรมโลก นับเป็นความฉลาดของมนุษย์ที่พยายามวางระบบคิดเพื่อให้คนทั้งโลกเกิดความตระหนักรู้และคิดคำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ นับแต่ขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด รวมทั้งระบบสิทธิต่างๆที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ซึ่งเป็นความชอบธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสิทธิโดยกำเนิด สิทธิตั้งแต่เกิด การให้ความสำคัญกับคำว่า ชีวิต ว่าโดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายล้วนต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตด้วยกันทั้งนั้น นับแต่ปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ว่าด้วยอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม การดำรงเผ่าพันธุ์ การมีชีวิตรอด ฯลฯ ความต้องการขั้นพื้นฐานเหล่านี้ นับเป็นปัจจัยสำคัญกับชีวิตเป็นที่สุด และเหมือนกันทั้งมนุษย์และสัตว์ ซึ่งสิทธิดังกล่าวหากเป็นความชอบธรรมของมนุษย์ก็คือ สิทธิมนุษยชน ทั้ง มนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม มนุษย์กับธรรมชาติ และแม้แต่กับสัตว์ การคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานมีความจำเป็นอยู่เสมอ เหล่านี้นับเป็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชนที่สังคมโลกต่างให้ความตระหนัก การคำนึงถึงสิทธิดังกล่าว จะถือเป็นบันไดก้าวไปสู่ความยุติธรรมทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆร่วมกัน
3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ดังนั้น ปี 2555 นี้ชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณจะยังเป็น ตัวละครเอกที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความขัดแย้งทางการเมืองต่อไปอย่างแน่นอน ตราบใดที่สังคมไทยยังไม่ก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ
ตราบใดที่ยังมีพรรคการเมืองขี้แพ้ (ชวนตี) ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งจากประชาชน ยังมีกลุ่มการเมืองภาคประชาชนที่กลัวผีทักษิณและกลุ่มที่หากินกับระบอบลัทธิ โดยการโฆษณาชวนเชื่อ หรือ พ.ต.ท.ทักษิณยังไม่ถูกปลดล็อกทางการเมือง
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นได้เสมอ
ทั้งที่ความจริงแล้วสังคมไทยมองเห็นเด่นชัดว่าแทบเป็นไปไม่ได้ที่คนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับประเทศมาเปิดหน้าเล่นการเมืองอีก ถึงกลับมาได้ก็จะไม่มีชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณในฐานะผู้นำประเทศ (ด้วยตนเอง) อีกต่อไป
หรือแม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณจะไม่ได้กลับ (อย่างเช่นทุกวันนี้) พรรคการเมืองที่ยึดโยง พ.ต.ท.ทักษิณก็ชนะการเลือกตั้งทุกครั้งไปอยู่ดี จนต้องตั้งคำถามว่าเหตุใดพรรคการเมืองเก่าแก่ที่หวังแต่รอส้มหล่นจากอุบัติเหตุทางการเมืองจึงไม่เคยชนะเลือกตั้งอีกเลยหลังจากมีรัฐบาลทักษิณเกิดขึ้น
ลึกๆแล้วสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการคือความยุติธรรม ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และการอยู่ร่วมกันได้ในความคิดเห็นที่แตกต่าง
เมื่อสังคมไทยกลับมานับถือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เมื่อทุกคนมองเห็นทุกคนเป็นมนุษย์ที่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ เรื่องเล็กอย่าง ทักษิณก็เป็นแค่เรื่องของมนุษย์คนหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาได้
เรื่องใหญ่อย่างคนตายเกือบร้อยศพ และบาดเจ็บร่วม 2,000 คน ก็ไม่ยากที่จะหาความยุติธรรม
เมื่อได้ค้นหาอย่างมีใจเป็นธรรมจะพบว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญก็คือระบอบที่ลงตัวและเหมาะสมกับสังคมไทยมากที่สุด ท่ามกลางความขัดแย้งแห่งวาระปัจจุบัน
เมื่อไรจะถึงวันที่คนไทยจะได้เลือกผู้นำ เลือกรัฐบาลที่คนไทยอยากได้ด้วยตนเอง หรือถ้าเลือกผิดก็อย่าเลือกกลับมาอีก หันไปเลือกคนใหม่ ไม่ต้องใส่เสื้อสีนั้นสีนี้ออกมาเต็มบ้านเต็มเมือง ไม่ต้องให้กองทัพฝ่ายเลวอ้างเหตุถือโอกาสยึดอำนาจไปจากประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ไม่ต้องเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักสามัคคี หรือใครจงรักภักดีมากกว่าใคร อย่างไร แค่ไหน?
ทั้งหมดเป็นแค่เรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์พื้นๆเท่านั้นเอง


4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
         เรื่องการเมืองการแย่งชิงอำนาจกันไม่รู้จักสามัคคีกันในประเทศส่งผลต่อเศรษฐกิจของโลกและการศึกษาและอีกหลายปัจจัยทำให้ประเทศไทยย่ำแย่ลง เราควรตระหนักถึงความถูกต้องและความยุติธรรม

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง มีขันติ อดทน อดกลั้น ต่อความแตกต่าง ขัดแย้ง
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง

ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือการที่ต้องทำงานเป็นกลุ่ม นอกจากความขัดแย้งระหว่างบุคคลแล้วยังจะมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มด้วย หากสมาชิกกลุ่มมีความแตกต่างกันมากในหลายๆ ด้าน ความขัดแย้งก็จะเกิดมากขึ้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการยากที่คนเราจะทำงานร่วมกันในหน่วยงานโดยปราศจากความขัดแย้ง จนมีคำกล่าวว่า “ความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในชีวิตแต่ปัญหาไม่จำเป็นต้องมี ” เพราะความขัดแย้งที่คงอยู่ในระดับหนึ่งอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหา แม้กระนั้นนักบริหารก็จะต้องให้ความสนใจกับเรื่องของความขัดแย้ง และเข้าเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

2.       หลักการของความขัดแย้ง
ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งที่สลับซับซ้อน, มีความขัดแย้งจำนวนมากดำรงอยู่ และในจำนวนนี้ย่อมจะมีอันหนึ่งเป็นความขัดแย้งหลัก เนื่องจากการดำรงอยู่และการพัฒนาของมัน จึงกำหนดหรือส่งผลสะเทือนต่อการดำรงอยู่และการพัฒนาของความขัดแย้งอื่น ๆ.

          ตัวอย่างเช่น ในสังคมทุนนิยม พลังทั้งสองที่ขัดแย้งกันอันได้แก่ชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุนนั้นเป็นความขัดแย้งหลัก; พลังอื่น ๆ ที่ขัดแย้งกัน เช่นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นศักดินาที่เหลือเดนกับชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างนายทุนน้อยที่เป็นชาวนากับชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับนายทุนน้อยที่เป็นชาวนา, ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนเสรีกับชนชั้นนายทุนผูกขาด, ความขัดแย้งระหว่างลัทธิประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุนกับลัทธิฟัสซิสต์ของชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งระหว่างประเทศทุนนิยมด้วยกัน ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมกับเมืองขึ้น ตลอดจนความขัดแย้งอื่น ๆ ล้วนแต่กำหนดหรือส่งผลสะเทือนโดยพลังความขัดแย้งหลักนี้ทั้งสิ้น. 
3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
จากความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มชาติอาหรับลดความนับถือต่อประธานาธิบดี นัสเซอร์ เป็นอย่างมาก และยังทำให้ "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" (PLO : Palestine Liberation Organization) ที่เขาก่อตั้งขึ้น ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ มีการเลือกประธานคนใหม่ที่มาพร้อมกับนโยบายที่แข็งกร้าวขึ้น นั่นคือ นายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat)
อาราฟัต เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยที่ยังศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งกษัตริย์ฟาฮัดที่ 1 ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และได้เข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพอียิปต์เมื่อครั้งสงครามคลองสุเอซ ในปี ค.ศ.1956 จากนั้นได้ไต่เต้าขึ้นมาสู่ตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์จนกระทั่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในที่สุดอาราฟัต พยายามอย่างยิ่งในการแสดงให้ชาวโลกยอมรับการมีตัวตนของชาวปาเลสไตน์และพยายามแสดงให้เห็นถึงความชอบธรรม ในการกอบกู้ดินแดนของชาวปาเลสไตน์คืนจากอิสราเอล ในปี 1972 ณ เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี โดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "ขบวนการกันยาทมิฬ" (Black September)กลุ่มนักรบปาเลสไตน์บุกเข้าหอพักนักกีฬาโอลิมปิก พร้อมกับจับตัวนักกีฬาชาวอิสราเอลจำนวน 11 คนเป็นตัวประกัน โดยพวกเขาเรียกร้องให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยตัวนักโทษการเมืองชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก 2 คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เยอรมัน พร้อมทั้งร้องขอเครื่องบินเพื่อเตรียมหลบหนีเข้าอียิปต์ 
4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
เกิดจาการแย่งชิงดินแดนกันของชาวยิวกับชาวปาเลสไตน์
ปี ค.ศ.1923 องค์การสันนิบาตชาติ มอบหมายให้อังกฤษเป็นผู้ดำเนินการส่งมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่ชาวยิว แต่อังกฤษก็ยังคงครอบครองดินแดนไว้เพื่อใช้ต่อรองกับกลุ่มชาติอาหรับ ในการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแน่นอนว่าภายหลังสงคราม ดินแดนเจ้าปัญหานี้ก็ยังไม่ได้ถูกส่งมอบให้แก่ฝ่ายไหนอยู่ดี อีกทั้งปัญหาการอพยพเข้ามาของชาวยิวจำนวนมากก็ยังเพิ่มทวีความวุ่นวายเข้าไปทุกขณะ โดยมีกลุ่มชาติอาหรับแสดงท่าทีไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด
ปี ค.ศ.1947 สมัชชาสหประชาชาติ ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย
การแบ่งดินแดนในครั้งนั้น ทำให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวอาหรับ
ปี ค.ศ.1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์ โดยมี ดาวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล ส่งผลให้ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้กลายเป็นชาวอิสราเอลไปโดยปริยาย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ชนชาติอาหรับ
จนกลุ่มชาติอาหรับจัดตั้งกองกำลังบุกเข้าอิสราเอล
   อ.อับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)