จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความขัดแย้ง


การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งรัฐบาลได้ส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธสงคราม และรถหุ้มเกราะ เข้าปิดล้อมพื้นที่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณแยกราชประสงค์ ระหว่างการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม ทั้งสิ้น 56 ศพ ในบรรดาผู้เสียชีวิตมีชาวต่างประเทศรวมอยู่สองศพและเจ้าหน้าที่กู้ชีพอีกสองศพ ได้รับบาดเจ็บ 480 คน และจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน กลุ่มผู้ชุมนุมยังสูญหายอีกกว่า 51 คน หลังแกนนำผู้ชุมนุมเข้ามอบตัวกับตำรวจเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ได้เกิดเหตุเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้ง เซ็นทรัลเวิลด์ สื่อต่างประเทศบางแห่ง ขนานนามการสลายการชุมนุมดังกล่าวว่า "สมรภูมิกรุงเทพมหานคร"สื่อไทยบางแห่ง ขนามนามเหตุการณ์ดังกล่าวว่า "พฤษภาอำมหิต"
พื้นที่แยกราชประสงค์ถูกล้อมด้วยรถหุ้มเกราะและพลแม่นปืนเป็นเวลาหลายวัน ก่อนหน้าวันที่ 13 พฤษภาคม ในเย็นวันที่ 13 พฤษภาคม พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรักษาความปลอดภัยแก่กลุ่มผู้ชุมนุม ถูกยิงที่ศีรษะด้วยวัตถุซึ่งคล้ายกับกระสุนของพลแม่นปืนระหว่างให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าวต่างประเทศ รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มในอีก 17 จังหวัดทั่วประเทศ และได้ออกคำสั่งให้ทหารเข้าสลายการชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 41 ศพ (รวมช่างภาพชาวอิตาลี) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 250 คน เมื่อถึงเวลา 20.30 น. ของวันที่ 18 พฤษภาคม ทหารนายหนึ่งเสียชีวิตจากการถูกฝ่ายเดียวกันยิง ทางฝ่ายกองทัพอ้างว่าพลเรือนทั้งหมดซึ่งถูกฆ่าเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายหรือไม่ก็เป็นผู้ก่อการร้ายติดอาวุธ และเน้นว่าบางคนถูกฆ่าโดยผู้ก่อการร้ายที่แต่งกายในชุดทหาร ทางกองทัพได้ประกาศ "เขตยิงกระสุนจริง" และเจ้าหน้าที่แพทย์ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในพื้นที่ วันที่ 16 พฤษภาคม ผู้นำ นปช. กล่าวว่าพวกตนพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลทันที่ที่ทหารถูกถอนกลับไป แต่รัฐบาลต้องการให้กลุ่มผู้ชุมนุมสลายตัวไปโดยไม่มีเงื่อนไข รัฐบาลปฏิเสธการเรียกร้องให้หยุดยิงของวุฒิสภา และการเจรจาที่วุฒิสภาเสนอตัวเป็นตัวกลาง วันที่ 17 พฤษภาคม องค์การนิรโทษกรรมสากลเรียกร้องให้ทางกองทัพยุติการใช้กระสุนจริง รถหุ้มเกราะนำการสลายการชุมนุมครั้งสุดท้ายในตอนเช้าของวันที่ 19 พฤษภาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ศพมีรายงานว่าทหารได้ยิงเจ้าหน้าที่แพทย์ซึ่งเข้าไปช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกยิง แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมมอบตัวกับตำรวจและประกาศสลายการชุมนุม ในวันเดียวกัน ได้เกิดเหตุการเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รัฐบาลจึงประกาศห้ามออกนอกเคหะสถาน และทหารได้รับคำสั่งให้ยิงทุกคนที่ก่อความไม่สงบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น