จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ความเป็นพลเมืองโลก

สถาบันทางสังคม
ความหมายของสถาบันทางสังคม

    หมายถึง แบบอย่างพฤติกรรมที่ตั้งขึ้นและปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับในสังคม ประเพณีต่าง ๆ สถาบันครอบครัว สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันการศึกษา

มีองค์ประกอบสำคัญ ประการ คือ
1. บุคคล คือ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ หมายถึงบุคคลที่ได้จัดระเบียบแล้ว เช่น มีสถานภาพ มีบทบาท มีการควบคุมทางสังคม มีการจัดระเบียบสังคมและมีค่านิยม
2. หน้าที่ของสถาบันทางสังคม คือ วัตถุประสงค์ในการสนองความต้องการของสังคม
3. แบบแผนการปฏิบัติ หรือ พฤติกรรม คือ กฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน ที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติของสมาชิกในสังคม
ประเภทของสถาบันทางสังคม
สถาบันครอบครัว
1. องค์การทางสังคม แบ่งออกเป้น ประเภท คือ
    1.1 ครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก
    1.2 ครอบครัวขยาย คือ ครอบครัวขนาดใหญ่ ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูกและญาติ ๆ
2. หน้าที่ สร้างสรรค์สมาชิกใหม่ เลี้ยงดูผู้เยาว์ ให้ความรักความอบอุ่น อบรมสั่งสอนและกำหนดสถานภาพทางสังคม
3. แบบแผนการปฏิบัติ คือ ให้แนวทางในการปฏิบัติต่อกันในครอบครัว
สถาบันการศึกษา  ทำหน้าที่ ถ่ายทอดความรู้ ความคิดให้แก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า รู้จักในการแก้ปัญหาด้วยหลักและวิธีการอันเหมาะสม
1. องค์การทางสังคม ได้แก่ กลุ่มคนที่ทำงานในกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สภาการศึกษา กลุ่มครู อาจารย์
2. หน้าที่ ของสถาบันการศึกษา
    2.1 การพัฒนาคน
    2.2 การให้ความรู้ ความเข้าใจ และความสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์
    2.3 การสอน และการส่งเสริมในด้านวิชาชีพและศิลปวัฒนธรรม
    2.4 จัดแหล่งความรู้และวิทยาการที่อำนวยความสะดวกต่อสังคม
3. แบบแผนการปฏิบัติ คือ การจัดการเกี่ยวกับการศึกษา และการวางมาตราฐานการศึกษา
สถาบันศาสนา  เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ประกอบด้วย ประการ คือ ความเชื่อ การแสดงออก ความรู้สึกทางอารมณ์
องค์ประกอบของสถาบันศาสนา
1. องค์การทางสังคม เช่น กลุ่มเจ้าอาวาส กลุ่มพระ กลุ่มชี กลุ่มบาทหลวง
2. หน้าที่ของสถาบันทางการศาสนา
    - การให้การอบรมสั่งสอน
    - การปกป้อง คุ้มครอง
    - การรักษากฎ ศีลธรรมของสังคม
    - การขัดเกลาพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคม
3. แบบแผนการปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติตามบทบัญญัติ หลักธรรม ประเพณี
สถาบันเศรษฐกิจ  เป็นสถาบันเกี่ยวกับความอยู่รอดของมนุษย์ในการดำรงชีวิตในสังคม
องค์ประกอบของสถาบันเศรษฐกิจ
1. องค์การทางสังคม ได้แก่ กลุ่มที่ทำงานในธนาคาร บริษัท ห้างร้าน โรงงาน
2. หน้าที่ของสถาบันทางเศรษฐกิจ
    - สนองความต้องการทางเศรษฐกิจ
    - จัดอำนวยความสะดวกในทางเศรษฐกิจ
    - พัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
    - ช่วยเหลือเกื้อกูลให้มีการบริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึง
3. แบบแผนการปฏิบัติ ได้แก่ การจัดระบบทรัพย์ มีเงื่อนไขสัญญา การอาชีพ การแลกเปลี่ยนและการตลาด
สถาบันทางการเมืองการปกครอง
องค์ประกอบของสถาบันการเมืองการปกครอง
1. องค์การทางสังคม ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ และรัฐบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎร
2. หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง
    - รักษาความสงบเรียบร้อย
    - ระงับข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล
    - คุ้มครองบุคคลให้ได้รับความปลอดภัย
3. แบบแผนการปฏิบัติ ได้แก่ การจัดให้มีกฎหมายต่าง ๆ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 สถาบันหรือองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในเวทีโลก
1.สหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ (ตัวย่อ: UNO)เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดร่วมมือกันของกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี พ.ศ. 2488 เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ ในการยับยั้งสงครามระหว่างประเทศ และเพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาท สหประชาชาติมีองค์การย่อย ๆ จำนวนมากเพื่อดำเนินการตามภารกิจ
สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ครอบคลุมรัฐอธิปไตยเกือบทุกรัฐบนโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ องค์กรหลัก ได้แก่: สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก ยูเนสโก และยูนิเซฟ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มักเป็นที่รู้จักและปรากฏตัวต่อสาธารณชน คือ เลขาธิการสหประชาชาติ ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งนี้ คือ นายบัน คี มุนชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ มกราคม ค.ศ. 2007 ต่อจากโคฟี อันนัน
การดำเนินงานที่สำคัญ
1.1การรักษาสันติภาพและความมั่นคง

ภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ สีน้ำเงิน หมายถึง ภารกิจในปัจจุบันของสหประชาชาติ ส่วนสีฟ้า หมายถึง ภารกิจในอดีตของสหประชาชาติ 

สหประชาชาติ ภายหลังจากที่ได้รับรองจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะมีการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไป ยังเขตพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในการใช้อาวุธที่สิ้นสุดลงหรือหยุดชะงักเพื่อ บังคับใช้เงื่อนไขของข้อตกลงสันติภาพและห้ามปรามผู้เข้าร่วมรบจากความเป็น ปฏิปักษ์ระหว่างกัน สหประชาชาติไม่มีการคงกองกำลังติดอาวุธของตนเอง การรักษาสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ด้วยการอาสาสมัครจากรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ มีชื่อเรียกว่า "หมวกน้ำเงิน" ผู้ซึ่งสมัครใจปฏิบัติตามมติสหประชาชาติจะได้รับเหรียญสหประชาชาติ และพิจารณามอบเครื่องอิสรยภรณ์สากล แทนที่จะเป็นเครื่องอิสรยภรณ์ทางทหาร กองกำลังรักษาสันติภาพทั้งหมดได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เมื่อปี ค.ศ. 1988
เหล่าผู้ก่อตั้งสหประชาชาติได้เผชิญหน้ากันว่าองค์การสหประชาชาติจะทำ หน้าที่ป้องกันความขัดแย้งระหว่างรัฐและทำให้สงครามในอนาคตกลายเป็นเรื่อง ที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การแตกหักของสงครามเย็นได้ ทำให้ข้อตกลงการรักษาสันติภาพกลายเป็นความยุ่งยากอย่างมาก เนื่องจากมีการแบ่งส่วนต่าง ๆ ของโลกออกเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ภายหลังจากสงครามเย็น ได้มีความหวังใหม่ว่าสหประชาชาติจะเป็นผู้ธำรงสันติภาพของโลก ในขณะที่ยังมีความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่ในปัจจุบันทั่วโลก

ค่ายผู้ลี้ภัยสงครามของสหประชาชาติในคองโก
ในปี ค.ศ. 2005 การศึกษาบริษัทแรนด์ได้พบว่าสหประชาชาติประสบความสำเร็จในการรักษาสันติภาพ สองในสาม ได้มีการเปรียบเทียบว่าความพยายามสร้างชาติของสหประชาชาตินี้กับความพยายาม ของสหรัฐอเมริกา และพบว่าเจ็ดในแปดกรณีของสหประชาชาตินั้นอยู่ในสภาวะสันติภาพ ไม่เหมือนกับสี่ในแปดกรณีของสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในสภาวะสันติภาพ ในปี 2005 รายงานความมั่นคงของมนุษย์ได้ เป็นพยานหลักฐานของสงคราม การล้างชาติพันธุ์และการละเมิดสิทธิมนุษย์หลายครั้งตั้งแต่หลังสิ้นสุด สงครามเย็น และนำเสนอหลักฐาน กรณีแวดล้อมและกิจการสากล ซึ่งส่วนใหญ่นำโดยสหประชาชาติ เป็นสาเหตุของการลดจำนวนลงของความขัดแย้งด้วยอาวุธภายหลังสงครามเย็น สถานการณ์ที่สหประชาชาติมีส่วนร่วมรักษาสันติภาพได้ รวมไปถึง สงครามเกาหลี และการอนุญาตให้เข้าแทรกแซงในอิรัก ภายหลังจากที่อิรักรุกรานคูเวต ในปี ค.ศ. 1990
ภาพรถหุ้มเกราะของอังกฤษ ซึ่งถูกนำไปใช้ในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ

แต่สหประชาชาติก็ได้รับคำวิจารณ์จากความล้มเหลวในการรักษาสันติภาพหลาย ครั้ง ในหลายกรณีที่รัฐสมาชิกปฏิบัติการด้วยความไม่เต็มใจในการปฏิบัติตามหรือการ บังคับใช้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นประเด็นที่ปิดกั้นธรรมชาติของรัฐบาลนานาชาติของสหประชาชาติ ดังที่เห็นได้ชัดเจนจากความร่วมมือกันของรัฐสมาชิก 192 ประเทศต้องมีความเป็นเอกฉันท์ ไม่ใช่องค์การที่มีอิสระ ความไม่เห็นด้วยกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทำให้สหประชาชาติล้ม เหลวที่จะป้องกันเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา เมื่อปี ค.ศ. 1994ล้มเหลวที่จะป้องกันที่จะยื่นความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในเข้าแทรก สงครามคองโกครั้งที่สอง ล้มเหลวที่จะเข้าแทรกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในซรีเบนนิกา เมื่อปี ค.ศ. 1995 และการป้องกันผู้ลี้ภัยโดยการใช้กำลังรักษาสันติภาพ ล้มเหลวที่จะส่งอาหารให้แก่ผู้คนที่อดอยากในโซมาเลีย ล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และล้มเหลวในการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และเข้าแทรกแซงในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติตกเป็นจำเลยในการข่มขืนกระทำชำเรา เยาวชน การทารุณทางเพศ หรือการใช้บริการโสเภณีระหว่างภารกิจรักษาสันติภาพหลายครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา ในคองโกเฮติ ไลบีเรีย ซูดาน บุรุนดีและโกตดิวัวร์
ในความพยายามที่จะรักษาสันติภาพ สหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในความพยายามที่จะปลดอาวุธ การวางระเบียบของอาวุธยุทธภัณฑ์ รวมไปถึง การเขียนกฎบัตรสหประชาชาติในปี 1945 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่จะลดการใช้ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางเศรษฐกิจในการ ผลิตอาวุธ อย่างไรก็ตาม เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น ก็ปรากฏอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้แนวคิดของการจำกัดอาวุธและการปลดอาวุธต้องหยุดชะงักไป โดยมีผลในมติการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อ "การทำลายอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธอื่นที่สามารถก่อการทำลายล้างสูงได้" โดยกระทู้หลักของประเด็นการลดอาวุธอยู่ที่คณะกรรมการการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรก คณะกรรมาธิการการลดาวุธของสหประชาชาติ และการเจรจาลดอาวุธ โดยได้พิจารณาห้ามการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ การควบคุมอาวุธอวกาศ การห้ามใช้อาวุธเคมีและกับระเบิดการลดอาวุธและระเบิดนิวเคลียร์ การกำหนดเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ การลดงบประมาณทางการทหาร และความพยายามที่จะเสริมสร้างความมั่นคงสากล
สหประชาชาติยังได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของกระทู้ความมั่นคงโลก ซึ่งเป็นการประชุมหลักนานาชาติเพื่อแก้ปัญหาสาธารณภัยต่าง ๆ ซึ่งก่อตั้งขึ้นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเดือนตุลาคม 2008
1.2สิทธิมนุษยชนและการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม

ความพยายามในการกำกับดูแลสิทธิมนุษยชนถือได้ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการก่อตั้งสหประชาชาติ ความร้ายกาจจากสงครามโลกครั้งที่สองและพันธุฆาตได้ นำไปสู่การเตรียมการองค์การใหม่ขึ้นเพื่อทำงานป้องกันมิให้เกิดโศกนาฎกรรม อีกในอนาคต เป้าหมายในระยะแรก คือ ความพยายามสร้างโครงร่างสำหรับพิจารณาและการลงมือช่วยเหลือตามคำร้องที่มี การละเมิดสิทธิมนุษยชน กฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้รัฐสมาชิกต้องมีการส่งเสริม "ความเคารพและการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน" และจะต้องสนับสนุนต่อ "การลงมือปฏิบัติร่วมและแยกกัน" จนถึงที่สุด โดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แม้ว่าจะมิได้เป็นข้อผูกมัดทางกฎหมาย ได้ถูกร่างขึ้นโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1948 โดยถือเอาเป็นมาตรฐานการวัดความสำเร็จโดยทั่วไป โดยปกติแล้ว สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะรับฟังประเด็นทางมนุษยธรรมเสมอ
สหประชาชาติและหน่วยงานสนับสนุนเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมและเพิ่มพูน ตามหลักการของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในกรณีจุดที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติในการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย ความช่วยเหลือทางเทคนิคในการจัดการเลือกตั้งปราศจากค่าใช้จ่ายและยุติธรรม การปรับปรุงระบบยุติธรรม การร่างรัฐธรรมนูญ การฝึกหัดเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน และการเปลี่ยนแปลงเอาขบวนการติดอาวุธเป็นพรรคการเมืองแทน โดยได้รับความสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงโลกให้กลายเป็นระบอบประชาธิปไตย สหประชาชาติได้มีส่วนช่วยจัดการเลือกตั้งให้แก่ประเทศที่มีประวัติศาสตร์ ประชาธิปไตยไม่นานนัก อย่างเช่น อัฟกานิสถานและติมอร์ตะวันออกใน ปัจจุบัน สหประชาชาติยังมีส่วนสำคัญในการรณรงค์สนับสนุนสิทธิสตรีในด้านสิทธิทางการ เมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ และชีวิตทางสังคมในประเทศ นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้ปลูกฝังแนวคิดสิทธิมนุษยชนผ่านทางกติการของสหประชาชาติ และให้ความสนใจต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านทางสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีการจัดตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อที่ประชุม โดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ต่อจากผู้ตรวจการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมักจะได้รับคำวิจารณ์สำหรับตำแหน่งในการบีบรัฐสมาชิกที่ไม่ค่อยให้การสนับสนุนสิทธิมนุษยชน คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนมีสมาชิก 47 ประเทศกระจายกันไปตามทุกทวีปในโลก โดยมีวาระสมาชิกสามปี และไม่เป็นสมาชิกสามวาระติดต่อกันผู้ที่เสนอตัวเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนจะต้องได้รับเสียงส่วนใหญ่จากสมัชชา ใหญ่ นอกจากนี้ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยังมีอำนาจอย่างเข้มงวดเหนือรัฐสมาชิก รวมไปถึงการทบทวนสิทธิมนุษยชนสากล ขณะที่รัฐสมาชิกบางประเทศที่มีข้อกังขาถึงประวัติสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ เมื่อถูกเลือกตั้งเข้ามาแล้ว ก็จะเพิ่มความสนใจให้แก่ประวัติสิทธิมนุษยชนของรัฐสมาชิกให้มากขึ้นกว่าที่ เคย
นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้ให้ความสนใจแก่ชาวพื้นเมืองจำนวนกว่า 370 ล้านคนทั่วโลก โดยในปฏิญญาสิทธิชนพื้นเมืองได้รับรองจากสมัชชาใหญ่ในปี ค.ศ. 2007 ปฏิญญาดังกล่าวสรุปเน้นถึงความเป็นเอกเทศและการรวมกันของสิทธิทางวัฒนธรรม ภาษา การศึกษา รูปพรรณ การจ้างงานและสุขภาพ ด้วยเหตุนั้น จึงมีประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังยุคอาณานิคม ซึ่งขัดกับวิถีชีวิตของชนพื้นเมืองมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ปฏิญญาสิทธิชนพื้นเมืองมีเป้าหมายเพื่อที่จะธำรงรักษา สร้างความแข็งแกร่งและสนับสนุนการเจริญเติบโตของสถาบันชนพื้นเมือง วัฒนธรรมและประเพณี และยังมีการห้ามลำเอียงในการต่อต้านชนพื้นเมือง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชนพื้นเมือง ซึ่งต้องคำนึงถึงอดีต ปัจจุบันและอนาคต
ในความร่วมมือกับองค์กรอื่น อย่างเช่น กาชาด สหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนอาหาร น้ำดื่ม ที่อยู่อาศัยและบริการให้แก่อาณาประชาราษฎร์ที่ได้รับผลกระทบจะภัยพิบัติ สูญเสียที่อยู่อาศัยจากภัยสงคราม หรือได้รับผลกระทบจากมหันตภัยอื่น โครงการเพื่อมนุษยธรรมหลักของสหประชาชาติ คือ โครงการอาหารโลก ซึ่งได้ช่วยชีวิตมนุษย์กว่า 100 ล้านคนใน 80 ประเทศทั่วโลก) รวมไปถึงสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ใน 116 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึง ประเทศที่มีภารกิจรักษาสันติภาพ 24ประเทศ
1.3 การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ
การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ และการเชิดชูฐานะของสตรี
การลดอัตราการตายของเด็ก
การพัฒนาสุขภาพของแม่
การป้องกันโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคติดต่ออื่น ๆ
การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในโลกสหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในการได้รับการสนับสนุนเฉพาะทางจากทั่วโลก องค์การอย่างเช่นองค์การอนามัยโลก โครงการต้านภัยเอดส์ กองทุนต่อต้านโรคเอดส์ วัณโรคและมาลาเรีย ได้เป็นองค์การสำคัญในการต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเทศยากจน กองทุนประชากรของสหประชาชาติเป็นผู้สนับสนุนหลักของบริการระบบสืบพันธุ์ ซึ่งช่วยลดจำนวนทารกและการตายของมารดาในกว่า 100 ประเทศสหประชาชาติยังได้ส่งเสริมการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ผ่านทางหน่วยงานหลายอย่าง อย่างเช่น ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เป็นองค์การพิเศษและผู้สังเกตการณ์ภายในโครงสร้างของสหประชาชาติ ตามข้อตกลงของปี ค.ศ. 1947องค์การเหล่านี้ก่อตั้งขึ้นแยกต่างหากกับสหประชาชาติตามข้อตกลงเบรตตันวูดส์ในปี ค.ศ. 1944
สหประชาชาติได้การตีพิมพ์ดัชนีการพัฒนามนุษย์ทุกปี ซึ่งเป็นการจัดอันดับจากตัวชี้วัดความยากจน จำนวนผู้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาและอายุเฉลี่ย และจากตัวแปรอื่น ๆ
เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ คือ เป้าหมายแปดประการที่รัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 192 ประเทศตั้งใจจะให้บรรลุภายในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งได้ประกาศไว้ในปฏิญญาสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2000
อาณัติพิเศษ
บางครั้งหน่วยงานในองค์การสหประชาชาติได้ผ่านมติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า "เรียกร้อง" "เป็นหน้าที่" หรือ "ให้ช่วยเหลือ" ทำให้เลขาธิการสหประชาชาติตีความว่าเป็นการมอบหมายอาณัติพิเศษให้ตั้งองค์กร ชั่วคราวขึ้นหรือสั่งให้ดำเนินการบางสิ่งบางอย่าง อาณัติพิเศษเหล่านี้อาจเป็นภารกิจเล็กๆ เช่นการวิจัยและเผยแพร่เอกสารรายงาน ไปจนถึงการใช้อำนาจเต็มที่ เช่น ปฏิบัติการรักษาสันติภาพเต็มรูปแบบ (ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นสิทธิ์เฉพาะของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ)
แม้ว่าจะมีการจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางของสหประชาชาติบางแห่งเช่น องค์การอนามัยโลก ขึ้นในลักษณะดังกล่าวมานี้ แต่หน่วยงานเหล่านั้นก็มิใช่อาณัติพิเศษ เพราะองค์การเหล่านั้นถือว่าเป็นองค์การถาวรซึ่งปฏิบัติงานเป็นเอกเทศจากสห ประชาชาติ โดยมีโครงสร้างสมาชิกของตัวเอง อาจกล่าวได้ว่าอาณัติเริ่มแรกเป็นแต่เพียงคำสั่งที่ครอบคลุมกระบวนการก่อ ตั้งสถาบัน และได้สิ้นสุดอาณัติไปนานแล้ว อาณัติพิเศษส่วนใหญ่จะหมดอายุไปในช่วงเวลาที่กำหนด และต้องมีคำสั่งให้ต่ออายุจากหน่วยงานของสหประชาชาติที่เป็นผู้ก่อตั้งเพื่อ จะปฏิบัติงานต่อไป
หนึ่งในผลจากการประชุมโลกปี 2005 คือ อาณัติพิเศษ (ชื่อว่า "id 17171") สำหรับเลขาธิการสหประชาชาติที่จะ "ทบทวนอาณัติพิเศษทั้งหมดที่มีอายุมากกว่าห้าปีที่ได้รับมาจากมติของสมัชชา ใหญ่หรือองค์การส่วนอื่น ๆ" เพื่อให้การทบทวนครั้งนี้เป็นไปโดยง่ายและต่อเนื่องกันภายในองค์การ สำนักงานเลขาธิการจึงได้จัดทำรายชื่ออาณัติพิเศษออนไลน์ เพื่อดึงรายงานที่เกี่ยวข้องออกมาอยู่รวมกันและสร้างภาพรวมที่เด่นชัดออกมา
1.4ภารกิจด้านอื่น ๆ
ตลอดช่วงเวลาของสหประชาชาติ มีอาณานิคมกว่า 80 แห่งที่เรียกร้องเอกราช สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ออกปฏิญญาการมอบเอกราชให้แก่อาณานิคมและประชากรในปี ค.ศ. 1960 โดยไม่มีเสียงต่อต้านเลย ส่วนประเทศเจ้าอาณานิคมเพียงแต่งดลงคะแนนเสียงเท่านั้น ผ่านทางคณะกรรมการสหประชาชาติเพื่อการปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1962 สหประชาชาติได้ให้ความสนใจในการปลดปล่อยอาณานิคม คณะกรรมการดังกล่าวยังได้สนับสนุนรัฐใหม่ที่เกิดขึ้นจากการปกครองตัวเอง คณะกรรมการดังกล่าวดูแลการตรวจตราการปลดปล่อยอาณานิคมที่มีขนาดใหญ่กว่า 20,000 ตารางกิโลเมตร และถอดรายชื่อประเทศนั้น ๆ ออกจากรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองของสหประชาชาติ
สหประชาชาติยังได้มีการประกาศวันหยุดสากล ช่วงเวลาที่จะเฉลิมฉลองต่อประเด็นความสนใจหรือความกังวลนานาชาติ การใช้สัญลักษณ์ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ และโครงสร้างพื้นฐานของระบบสหประชาชาติ ซึ่งเป็นช่วงเวลาวันหรือปีที่เป็นประเด็นสำหรับความกังวลในระดับโลก อย่างเช่น วันวัณโรคโลก วันคุ้มครองโลก หรือ ปีแห่งทะเลทรายและการเกิดทะเลทรายสากล
2.สหภาพยุโรป
สหภาพยุโรป (อังกฤษ: European Union: EU) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27ประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ภายใต้สนธิสัญญามาสทริชต์ แทนที่ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)
สหภาพยุโรปมีอิทธิพลสูงต่อเวทีโลก เนื่องด้วยมีประชากรกว่า 500 ล้านคนและมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ คิดเป็นกว่า 30% ของโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
ปัจจุบันมีประเทศสมัครเข้าเป็นสมาชิก ประเทศคือโครเอเชีย มาซิโดเนียและตุรกี ส่วนประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่านตะวันตกเช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกรและเซอร์เบีย ถูกจัดให้เป็นประเทศที่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ คอซอวอเองก็ได้สถานะนี้เช่นเดียวกัน
 3.สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations)หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐคิดเป็นลำดับที่ ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพอาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ.2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

ธงของชาติอาเซียน 10 ชาติ

4.องค์กรพัฒนาเอกชน (อพช.หรือเรียกทับศัพท์ว่า เอ็นจีโอ (ย่อมาจาก non-governmental organizationแปลตามตัวได้ว่า "องค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐ") บ้างเรียกว่า องค์การสาธารณประโยชน์ เป็นกลุ่มหรือสมาคมที่ไม่แสวงผลกำไร ที่ดำเนินงานอยู่ภายนอกโครงสร้างการเมืองแบบสถาบัน คำนี้โดยทั่วไปจะจำกัดใช้กับกลุ่มรณรงค์ด้านสังคม วัฒนธรรม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อม ที่ มีเป้าหมายโดยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ในทางการค้าแต่ทำเพื่ออุดมการณ์ในการปกป้อง ประชาชนไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่ไม่มีการจัดการทีดี เอ็นจีโอมักจะได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากภาคเอกชน เนื่องจากชื่อ "เอ็นจีโอ" (องค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐ) นั้นกินความหมายกว้าง ในปัจจุบันจึงนิยมใช้คำว่า "องค์กรอาสาสมัครเอกชน" (private voluntary organization - PVO) หรือ "องค์กรพัฒนาเอกชน" (Private Development Organization - PDO) หรือคำว่า"องค์การสาธารณประโยชน์" ในประเทศไทย
5.รัฐบาลของประเทศมหาอำนาจ  รัฐบาลของประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ญี่ปุ่น มีบทบาท เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆของโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น